วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 ( เรียนชดเชย )

วันเสาร์ ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555


เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ
1.อาจารย์ให้นักศึกษาวาดอะไรก็ได้ คนละภาพ

ภาพดอกไม้



หลังจากวาดภาพเสร็จ ให้ออกมานำเสนอครั้งละ 8 คน โดยให้เล่าภาพต่อกันเป็นเรื่องราว

 ณ ป่าใหญ่แห่งหนึ่งมีสัตว์มากมายหลายชนิด มีช้าง 2 เชือก มี่เป็นเพื่อนกัน

ในป่าแห่งนี้มีดอกไม้แสนสวยอยู่มากมายหลายพันธุ์

 มิ๊กกี้เม้าส์ไปเดินเล่นในป่า เห็นดอกไม้ดอกนี้จึงอยากเก็บมาปลูก

 มิ๊กกี้เม้าส์ได้เก็บดอกไม้ดอกนี้มาปลูกในกระถางในบ้าน

และในบ้านของมิ๊กกี้เม้าส์ก็มีรังผึ้ง เมื่อผึ้งเห็นดอกไม้ดอกใหม่ก็ดีใจจึงบินมาดูดน้ำหวานบนดอกไม้

จากนั้นผึ้งก็บินไปดูดอกไม้ดอกอื่นในบ้าน

 แมลงบินมาเห็นดอกไม้สวยในบ้านหลังนี้จึงบินลงมาดู

 ผึ้งอีกตัวบินมาเห็นแมลงปอก็ถามแมลงปอว่า ชอบดอกไม้ดอกนี้หรอ จากนี้นผึ้งและแมลงปอก็คุยกันในที่สุดก็เป็นเพื่อนกัน

- กิจกรรมนี้ช่วยให้เด็ก รู้จักการเรียนเรียงประโยค การเชื่อมประโยค การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การกล้าแสดงออก โดยกิจกรรมนี้ให้ความสำคัญแก่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้คิดเอง ทำเอง จนได้รับประสบการณ์ โดยครูเป็นผู้แนะนำ โดยไม่สกัดกั้นความคิดของเด็ก

2.ลักษณะของภาษา = เนื้อหาของภาษา ได้แก่ หัวข้อเนื้อเรื่อง หรือความหมายของสารที่จะใช้สื่อกับผู้อื่นประกอบด้วย ชื่อของคน สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ และความสัมพันธ์

3.อาจารย์ให้ทำท่าอะไรก็ได้โดยให้เข้ากับจำนวนคำของชื่อตัวเอง

4.อาจารย์ให้เขียนคำใบ้คนละคำ เช่น หัวใจ

รูปหัว+รูปหัวใจ = หัวใจ

5.อาจารย์ให้แยกเสียงพยัญชนะ ก-ฮ ว่ามีกี่เสียง มีทั้งหมด 28 เสียง
6.อาจารย์สอนการจำ ก-ฮ โดยสอนเป็นเพลง
7.อักษรกลาง มี 9 ตัว ก จ ด ต บ ป อ ฎ ฏ ( ไก่จิกเฎ็กตายเด็กฏายบนปากโอ่ง )
8.อักษรต่ำเดี่ยว มี 10 ตัว ง ญ น ย ณ ร ม ฬ ล ( งูใหญ่นอนอยู่ ณ ริมวัดโมฬีโลก )
9.อักษรสูง มี 11 ตัว ข ซ ฉ ถ ผ ฝ ส ษ ศ ห ( ฉันฝากขวดขี้ผึ้งใส่ถุงให้เศรษฐี )
10.อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำตัวแทนออกไปอ่านออกเสียง โดยผสมสระอะไรก็ได้

หมวดอักษรสูง

11.รูปแบบของภาษา เสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์

ป+า+ก = ปาก




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันพฤหัสบดี ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555

เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ
1.อาจารย์เปิดบล็อกนักศึกษา และนัดตรวจวันอาทิตย์
2.การทำหนังสือภาพ จะต้องเลือกความคิดรวบยอดที่ต้องการให้เด็กมีประสบการณ์ เช่น เธอชอบกินอะไร อะไรเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า
3.การสร้างปริศนาคำทาย
   - เลือกและกำหนดสิ่งที่ต้องการให้เด็กทาย
   - วิเคราะห์ลักษณะของสิ่งของที่กำหนดให้หลากหลายมากที่สุด
   - เรียงลำดับลักษณะของสิ่งที่กำหนดนั้น โดยเริ่มจากลักษณะที่ของหลายๆสิ่ง มีลักษณะเช่นกัน- นำมาจัดเรียงลำดับ
   - แต่งประโยค

งานที่ได้รับมอบหมาย
นักศึกษาจับกลุ่ม 4 คน ทำหนังสือภาพ และภาพปริศนาคำทาย
 
 
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันพฤหัสบดี ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555

ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันพฤหัสบดี ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555

เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ

1.ดูหนังสือนิทานโดยใช้โปรแกรมอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องแม่ไก่แดง


จากภาพ ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องแก้ไขในหนังสือเล่มนี้
  1.สีตัวหนังสือ
  2.ขนาดตัวหนังสือ
  3.สีตัวละครไม่สอดคล้องกับเนื้อหา

ข้อดี ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
  1.สามารถนำมาเปิดได้ทุกเวลา ถ้าไม่สะดวกเล่าในเวลานั้น

ข้อจำกัด ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
  1.สื่อสารทางเดียว
  2.ไม่ได้สังเกตพฤติกรรมเด็ก

ข้อดี ของการเล่านิทานสด
  1.ได้สื่อสารกับเด็กโดยตรง
  2.ไม่ปิดกั้นความคิดเด็ก
  3.ได้แสดงความรู้สึก

ข้อจำกัด ของการเล่านิทานสด 
  1.เมื่อไม่สะดวกเล่า หรือไม่มีเวลา อาจไม่สามารถเล่าได้ในตอนนั้น
  2.คำถามที่เหมาะสมที่สุดในการใช้ถามเด็กคือ ทำไม/เพราะเหตุใด/อย่างไร และต้องอยู่บนพื้นฐานความคิดอิสระ
  3.สื่อที่มีมิติ มีการเคลื่อนไหวมาก เช่น หนัง การ์ตูน เกมส์ จะเร้าความสนใจเด็กมากกว่าหนังสือ

2.อาจารย์สอนนักศึกษาร้องเพลง





3.อาจารย์ให้เขียนสรุปความรู้ที่ได้รับตั้งแต่ต้น


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันพฤหัสบดี ที่ 26 มกราคม พ.ศ.2555

เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ
1. หลักการจัดประสบการณ์ทางภาษาให้กับเด็ก ต้องคำนึงถึง
    - สิ่งที่เด็กสนใจ
    - พัฒนาการของเด็ก
    - การเชื่อมโยง
อาจารย์ให้นักศึกษาดูภาพและตัวอักษรที่เด็กเขียน สิ่งนี้จะช่วยสะท้อนพัฒนาการ ความรู้สึก มารยาท การจัดความเหมาะสมของคำ สถานการณ์


จากภาพ สะท้อนถึง
  1.พัฒนาการของเด็ก
  2.การจัดเรียงคำ
  3.ความรู้สึกที่มีต่อพ่อ
  4.มารยาททางสังคมของเด็ก สิ่งที่สะท้อน คือ คำว่า "ครับ"
  5.ภาษาเป็นเครื่องมือที่สะท้อนความคิดเด็ก
  6.ในฐานะที่เป็นครูปฐมวัย ควรหาวิธีปรับปรุงแก้ไขที่เหมาะสม ใช้คำพูดที่เหมาะสมกับเด็ก

2.บลูมและฮาเลย์(1993) ให้ความหมายของภาษาไว้ 3 ประการ
  1.ภาษาเป็นสัญลักษณ์หรือรหัส ใช้แทน สัตว์ สิ่งของ
  2.ภาษาเป็นสัญลักษณ์ของมโนทัศน์
  3.ภาษามีระบบ มีกฎเกณฑ์

3.ภาษา คือ สัญลักษณ์ที่มนุษย์ในสังคมหนึ่งๆสร้างขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารและทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน
  - เด็กเรียนการฟังและการพูด ไม่ต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ การที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษา จะทำให้เด็กเข้าใจและใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาแม่ เมื่อเด็กอายุได้ 4-5 ปี

4.ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาษาของเด็ก
   1.วัฒนธรรม
   2.สังคม
   3.สิ่งแวดล้อม(ห้องเรียน,นอกห้องเรียน,คน,สิ่งของ)

5. การจัดสภาพแวดล้อมทางภาษา
   1.ติดคำต่างๆไว้ในบริเวณต่างๆ
   2.การเห็นตัวหนังสือมากกว่าในหนังสือ- องค์ประกอบของภาษา มี 3 องค์ประกอบ ดังนี้
6.เสียง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
                 - การอ่าน = สัญลักษณ์การอ่าน
                 - ระบบเสียง = ตัวอักษร
7.ไวยากรณ์                
                 - คำ
                 - ประโยค
8.ความหมาย
                - คำศัพท์
                - ประโยคข้อความ






บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันอาทิตย์ ที่ 22 มกราคม พ.ศ.2555 (สอนชดเชย)

เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ

นำเสอ VDO เกี่ยวกับการตอบคำถามของเด็กจากการดูรูปภาพ


น้องจ๊ะจ๋า ชั้นอนุบาล1 อายุ 4 ปี โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม  จังหวัดกรุงเทพ

งานที่ได้รับหมอบหมาย
1.หาความหมายของอิทธิบาท 4
   อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ
หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่งให้ลุผลสำเร็จตามที่ตนประสงค์ มี 4 ประการ คือ
   1.ฉันทะ  ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
   2.วิริยะ  ความพากเพียรในสิ่งนี้น
   3.จิตตะ  ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
   4.วิมังสา  ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น
2.สมัครสมาชิกโทรทัศน์ครู
3.Link VDO เกี่ยวกับภาษาระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษา อย่างละ 1 เรื่อง


การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน ดร.นฤมล เนียมหอม



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันพฤหัสบดี ที่ 19 มกราคม พ.ศ.2555

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันพฤหัสบดี ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 25555

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันพฤหัสบดี ที่ 5 มกราคม พ.ศ.2555

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันพฤหัสบดี ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ

ทำกิจกรรมเขียนภาษาท้องถิ่น
 1.ภูมิลำเนา จังหวัดราชบุรี
 2.ภาษาท้องถิ่น เช่น
    - ทอดมัน = ปลาเห็ด
    - ลาว  = ทำตัวบ้านนอก
    - สก๊อย = เด็กผู้ชายที่ชอบขี่มอเตอร์ไซค์ซิ่ง
    - กาก = ทำอะไรไม่ได้เรื่อง
 3.สื่งที่ทำให้นึกถึงจังหวัดราชบุรี เช่น
    - ตลาดน้ำดำเนิน
    - โอ่งมังกร
    - วัดขนอน


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันพฤหัสบดี ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2554

เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ

นำเสนอ VDO การใช้ภาษาของเด็กปฐมวัยจากการตอบคำถาม


น้องจ๊ะจ๋า อนุบาล1 อายุ 4 ปี โรงเรียนสาธิตมหาวิมยาลัยราชภัฎจันทรเกษม จ.กรุงเทพ

งานที่ได้รับมอบหมาย
1.หาภาพขนาดใหญ่ 1 ภาพ แล้วนำไปถามเด็กปฐมวัย เช่น ในภาพมีอะไรบ้าง ให้ตั้งชื่อภาพ คิดว่าเปนภาพอะไร เป็นต้น  จับกลุ่ม 2 คน


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  2

วันพพฤหัสบดี  ที่  15  ธันวาคม  พ.ศ.2554

เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ

1.ประสบการณ์ คือ สิ่งที่เราทำผ่านมาแล้วหรือสิ่งที่ขณะทำอยู่
2.การเรียนรู้  คือ  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
3.การกระทำ จะส่งผลไปยังสมองให้เกิดก่รทำงาน ( ตาดู หูฟัง กายสัมผัส ลิ้นชิมรส จมูกดมกลิ่น )
พัฒนาการทางสติปัญญา
  1.อายุ 0-2 ปี ใช้ประสาทสัมผัสรับรู้ได้
  2.อายุ 2-4 ปี เด็กใช้ภาษาได้เยอะ พูดได้เป็นคำๆ
  3.อายุ 4-6 ปี พูดได้เป็นประโยคมีเหตุผลบ้างแต่ยังไม่สมบูรณ์
องค์ประกอบของภาษา ฟัง พูด อ่าน เขียน
เทคนิคการสงบเด็ก  1.การเล่านิทาน 2.การใช้เพลง 3.การใช้เพลง/บทบาทสมมติ

งานที่ได้รับหมอบหมาย
1.บันทึก VDO การใช้ภาษาของเด็กปฐมวัยจากการตั้งคำถามกลุ่มละ 2 คน 



วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

วันพฤหัสบดี  ที่  8  ธันวาคม  พ.ศ. 2554

ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม